วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กุฏิ


          กุฏิ เป็นอาคารพักอาศัยของพระภิกษุสามเณร เดิมเรียกว่า "กุฎี" ซึ่งเป็นคำเรียกที่ประทับของพระพุทธเจ้า แต่เดิมอาคารที่พักพระภิกษุไม่เป็นไปอย่างถาวร อาจอาศัยโคนต้นไม้เป็นที่พักพิง จนกระทั่งภายหลังพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้อาศัยในที่อันควร ทรงอนุญาตให้ใช้เครื่องมุงหลังคาได้ 5 ชนิด คือ อิฐ ศิลา ปูนขาว หญ้า ใบไม้ ภายหลังจากที่ทรงอนุญาตแล้ว จึงมีผู้ศรัทธาสร้างถวายกุฏีแด่พระพุทธองค์และพระสาวก ทรงรับการถวายพร้อมกับประกาศข้อปฏิบัติในกาลเบื้องหน้า หากมีผู้ศรัทธาสร้างถวายกุฏิให้รับไว้ได้แต่ต้องอุทิศถวายเป็น "จาตุททิสสงฆ์" ทุกครั้ง หมายถึงให้กุฎีนั้นสามารถเอื้อประโยชน์แก่พระภิกษุอื่นที่อาจมาจากทิศทั้ง 4 ทรงกำหนดให้เป็นลักษณะส่วนกลาง เพื่อไม่ให้เกิดการยึดถือครอบครองไว้เป็นกรรมสิทธิ์ของรูปใดรูปหนึ่ง
         

            

         กุฎีที่สร้างถวายในช่วงแรก น่าจะมีขนาดแตกต่างกันตามศรัทธาของผู้สร้างถวาย มีทั้งที่เป็นกระท่อมขนาดเล็กไปจนถึงเรือนขนาดใหญ่ พระพุทธองค์ทรงกำหนดขนาดของกุฎีขึ้น เพื่อให้เป็นกฎเกณฑ์ที่พระภิกษุทุกรูปพึงใช้ยึดถือปฏิบัติต่อไป คือ "...ภิกษุจะให้ทำกุฎี อันหาเจ้าของมิได้เฉพาะตนเอง ด้วยอาการของเอาเอง พึงทำให้ได้ประมาณ...โดยยาว 12 คืบ โดยกว้าง 7 คืบ ด้วยคืบสุคตในร่วมใน (ยาวประมาณ 3 เมตร กว้างประมาณ 1.75 เมตร รวมเป็น 5.75 ตารางเมตร) พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้ อันหาชานรอบมิได้หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ หรือทำให้ล่วงประมาณ เป็นสังฆาทิเสส...." จะเห็นได้ว่าทรงมีพระประสงค์ให้พระภิกษุสามารถเข้าอยู่อาศัยหลับนอนได้เพียงรูปเดียว พร้อมกับเครื่องอัฐบริขารทั้ง 8 อย่างเท่านั้น ถือว่าเป็นกุฎีที่มีขนาดเล็กมาก หากเทียบกับในปัจจุบัน
         



         เสนาสนะสงฆ์ในปัจจุบันได้พัฒนาให้มีขนาดใหญ่โตกว้างขวางขึ้นตามความต้องการของพื้นที่ใช้สอยที่เปลี่ยนไป วัดฝ่ายคามวาสีที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทาง "โลกวัตถุนิยม" จากสังคมเมือง ได้แก่ เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ หรือ สัมภาระอื่นๆ ต่างจกฝ่ายอรัญวาสี หรือวัดป่า ที่ยังคงพยายามรักษาข้อกำหนดของขนาดอาคารที่กำหนดในพระวินัย อย่างไรก็ตามวัดในเมืองบางแห่งก็ยังมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิปัสสนาธุระ เช่น วัดราชสิทธารามฯ ถึงกับสร้างเป็นอาคารขนาดเล็กสำหรับให้พระภิกษุรูปเดียวจำวัดเพื่อปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งอาคารดังกล่าวมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "คณะกุฏ" 
           กุฏิพระสงฆ์ที่มีสร้างในปัจจุบัน มีรูปแบบที่หลากหลายตอบสนองประโยชน์ใช้สอย แนวความคิดที่ได้รับจากสังคมเมือง หรืออาจเกิดจากความไม่รู้ถึงความหมาย ที่มาของที่พักอาศัยของพระภิกษุตามพระประสงค์ดั้งเดิมของพระพุทธองค์ ผมได้รวบรวมวิวัฒนาการรูปแบบกุฏิที่หลากหลายจากอดีต เพื่อใช้เป็นแนวทางให้ผู้ออกแบบรุ่นหลังได้ใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบหรือสร้างถวายพระภิกษุได้อย่างมีระเบียบวิธีที่ถูกต้องต่อไป
         
วัดสระเกศ

วัดสลัก

วัดเทพธิดา
วัดราชสิทธาราม

วัดหงส์รัตนาราม

วัดมหาธาตุ

"คณะกุฏ" วัดราชสิทธาราม

                                            กุฏิวัดเทพธิดา                                   Court ภายในกุฏิวัดเทพธิดา

                                      ทางเข้าหมู่กุฏิวัดประยูร                                    กุฏิวัดประยูร
                                          หมู่กุฏิวัดมหาธาตุ                                 Court ภายในกุฏิวัดมหาธาตุ

                                        กุฏิวัดหงส์รัตนาราม                            Court ภายในกุฏิวัดราชสิทธาราม

                    ภายในกุฏิวัดหงส์รัตนาราม                               ภายในโลหะปราสาทวัดราชนัดดา


ที่มา : สมคิด จิระทัศนกุล, รู้เรื่อง วัด วิหาร โบสถ์ เจดีย์ พุทธสถาปัตยกรรมไทย (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส, 2554), 188.
http://en.wikipedia.org/wiki/Thai_units_of_measurement

          Kuti, Cloister of the monks as a residential building, previously known as "Kudi," which is the residence of the Buddha. The original building, the monks are gone forever. The shelter is a stub. Buddha was later allowed to live in it should be. The roof is allowed to use five types of brick, stone, grass, lime leaves, after the approval. The church dedicated to invent a theory upon the Buddha and his disciples. Has been presented along with the announcement of the interim regulations in the foreground. If you have faith to his cubicle to get it, but it is consecrated. "Jatuthathisasong" refers to a monk of the monks who could benefit may come from the north and 4 has been designated as the central In order not to take possession of the property of any form is one.
          The monk in his early days. The size varies according to their faith in the Creator. The cottage has a small to a large house. Buddha the size of a monk. The rule is that all the monks to abide therein is "... a monk to monk. I do not find a specific person. The symptoms of my own. It should be about ... The long and 12 wide, 7 Khuep made by the participants in Suct (approximately 3 meters wide and 1.75 meters for a total of approximately 5.75 square meters) are to be brought to the priests. Priests, they should show that no reservation. It does not take a chance we all go to the priests. Or to pass around. Sagฆatiess is .... "As you can see he has the will to live a monk can sleep with them just the same. Available with either 8 or Athabrikar only. The monk is very small. If compared to the present.

          Monk cells in the development of a large spacious living area that needs to change. The parties who are affected directly by Camwasi. "Materialistic world" of social capital, including air cargo facilities, or other forest dweller from the CO or the forest is still trying to maintain the terms of the size of the building in the discipline. However, in some measure, it also provides insight about the business of teaching as Wat's Sittaram. To build a small building for the monks as monks began to practice meditation. The building is named only as "Khana Kut".

          Buddhist monk cells with a present. There are many forms of functional response. The concept of social capital. Or may be caused by unknown means. At the residence of monks under the original purpose of the Buddha. I've put together the evolution of the various cell types. This provides a way for designers to use as a model to design or build their Buddhist monks as a method to correct.







วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ


ที่มาภาพ : โบชัวร์พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ

        พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ อีกหนึ่งสถาปัตยกรรมไทยที่ เสี่ยเล็ก วิริยพันธุ์ ตั้งใจเสนอแนวความเชื่อเกี่ยวกับจักรวาลของชาวตะวันออก ออกมาในรูปแบบของช่างสกุลเมืองโบราณ เนื่องจากผมยังไม่ได้ไปชมด้วยตัวเอง เลยไม่สามารถอธิบายละเอียดได้ แต่แนะนำว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากแนะนำให้ต้องไปเยี่ยมชมให้ได้ ใครสนใจลองเข้าไปดู Website ด้านล่างได้นะครับ แล้วจะรู้ว่าผลงานของเสี่ยเล็ก วิริยะพันธุ์ มีความตั้งใจดีที่สร้างสถาปัตยกรรมไทยอันทรงคุณค่าฝากไว้ให้ประเทศชาติมากมาย แต่ละสถานที่แฝงแง่หลักคิด ปรัชญา เพื่อใช้สอนคนในชาติให้เกิดความรัก และซาบซึ้งถึงคุณค่าของสถาปัตยกรรมไทย ต้องการจะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่คู่ประเทศชาติต่อไป
http://www.erawan-museum.com/thai/main.html
http://www.sarakadee.com/feature/2001/03/ancientcity.htm
http://en.wikipedia.org/wiki/Erawan_Museum

          Erawan Museum. One of Thai architecture that is intended for Mr.Lek Viriyapant's belief about the universe of the East. It comes in the form of the ancient city is located. Because I have to watch yourself. I can not explain the details. But that is a very interesting places to visit to get. Who do I go to my Website below. I know that the persistence of a small fire was accidental, the creation of Thai architecture with the rich and leave the country. The main terms of the underlying philosophy is to teach people to love in the nation. And appreciate the value of Thai architecture. Want to preserve Thai arts and culture to remain coupled to the nation.